แผนบริหารความต่อเนื่องของอบต.
แผนบริหารความต่อเนื่องขององค์การบริหารส่วนตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
แผนความต่อเนื่อง หรือต่อไปนี้จะเรียกว่า Business Continuity Plan (BCP) จัดทำขึ้น เพื่อให้ หน่วยงาน สามารถนำไปใช้ในการตอบสนองและปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือการมุ่งร้ายต่อองค์กร โดยไม่ให้สภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวส่งผลให้หน่วยงานต้องหยุดการดำเนินงาน หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
การที่หน่วยงานไม่มีกระบวนการรองรับให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อหน่วยงานในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจการเงิน การให้บริการ สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นต้น ดังนั้น การจัดทำแผนความต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานสามารถรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด และทำให้กระบวนการที่สำคัญ (Critical Business Process) สามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างปกติ หรือตามระดับการให้บริการที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดระดับความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานได้
วัตถุประสงค์ (Objectives)
§ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารความต่อเนื่อง
§ เพื่อให้หน่วยงานมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสภาวะวิกฤต
§ เพื่อลดผลกระทบจากการหยุดชะงักในการดำเนินงานหรือการให้บริการ
§ เพื่อบรรเทาความเสียหายให้อยู่ระดับที่ยอมรับได้
§ เพื่อให้ประชาขน เจ้าหน้าที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของหน่วยงาน แม้หน่วยงานต้องเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงและส่งผลกระทบจนทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก
สมมติฐานของแผนความต่อเนื่อง (BCP Assumptions)
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นภายใต้สมมติฐาน ดังต่อไปนี้
§ เหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ แต่มิได้ส่งผลกระทบต่อสถานที่ปฏิบัติงานสำรองที่ได้มีการจัดเตรียมไว้
§ หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบในการสำรองระบบสารสนเทศต่าง ๆ โดยระบบสารสนเทศสำรองมิได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ฉุกเฉินเหมือนกับระบบสารสนเทศหลัก
§ บุคลากร ที่ถูกระบุในเอกสารฉบับนี้ หมายถึง เจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งหมดของหน่วยงาน
ขอบเขตของแผนความต่อเนื่อง (Scope of BCP)
แผนความต่อเนื่อง (BCP) ฉบับนี้ ใช้รับรองสถานการณ์ กรณีเกิดสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่สำนักงานของหน่วยงาน หรือภายในหน่วยงาน ด้วยเหตุการณ์ต่อไปนี้
§ เหตุการณ์อุทกภัย
§ เหตุการณ์อัคคีภัย
§ เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/จลาจล
§ เหตุการณ์โรคระบาด
การวิเคราะห์ทรัพยากรที่สำคัญ
สภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นเพื่อให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการการดำเนินงานขององค์กรให้มีความต่อเนื่อง การจัดหาทรัพยากรที่สำคัญจึงเป็นสิ่งจำเป็น และต้องระบุไว้ในแผนความต่อเนื่อง ซึ่งการเตรียมการทรัพยากรที่สำคัญ จะพิจารณาจากผลกระทบใน 5 ด้าน ดังนี้
1. ผลกระทบด้านอาคาร/สถานที่ปฏิบัติงานหลัก หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สถานที่ปฏิบัติงานหลักได้รับความเสียหายหรือไม่สามารถใช้สถานที่ปฏิบัติงานหลักได้ และส่งผลให้บุคลากรไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ชั่วคราวหรือระยะยาว
2. ผลกระทบด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ/การจัดหาจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้งานวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ หรือไม่สามารถจัดหา/จัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญได้
3. ผลกระทบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ระบบงานเทคโนโลยี หรือระบบสารสนเทศ หรือข้อมูลที่สำคัญไม่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้ตามปกติ
4. ผลกระทบด้านบุคลากรหลัก หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บุคลากรหลักไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ตามปกติ
5. ผลกระทบด้านคู่ค้า / ผู้ให้บริการที่สำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้คู่ค้า/ผู้ให้บริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่สามารถติดต่อหรือให้บริการหรือส่งมอบงานได้
เหตุการณ์สภาวะวิกฤต
|
ผลกระทบ |
ด้านอาคาร/ สถานที่ปฏิบัติงานหลัก |
ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ
/ การจัดหาจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ |
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ |
ด้านบุคลากรหลัก |
คู่ค้า/ผู้ให้บริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
1 |
เหตุการณ์อุทกภัย |
ü |
ü |
ü |
ü |
ü |
2 |
เหตุการณ์อัคคีภัย |
ü |
ü |
ü |
ü |
|
3 |
เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/ จลาจล |
ü |
|
|
ü |
|
4 |
เหตุการณ์โรคระบาด |
ü |
|
|
ü |
|
แผนความต่อเนื่อง (BCP) ฉบับนี้ ไม่รองรับการปฏิบัติงานในกรณีที่เหตุขัดข้องเกิดขึ้นจากการดำเนินงานปกติ และเหตุขัดข้องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบในระดับสูงต่อการดำเนินงานและการให้บริการของหน่วยงาน เนื่องจากหน่วยงานยังสามารถจัดการหรือปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์ได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยผู้บริหารหน่วยงานหรือผู้บริหารของแต่ละกลุ่มงานและฝ่ายงานสามารถรับผิดชอบและดำเนินการได้ด้วยตนเอง
ทีมงานแผนความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan Team)
เพื่อให้แผนความต่อเนื่อง (BCP) ขององค์การบริหารส่วนตำบลควนขนุนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล จะต้องจัดตั้งทีมงานบริหารความต่อเนื่อง (BCP Team) ขึ้น โดย BCP Team ประกอบด้วย หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่อง และทีมงานบริหารความต่อเนื่อง
โดยทุกตำแหน่งจะต้องร่วมมือกันดูแล ติดตาม ปฏิบัติงาน และกู้คืนเหตุการณ์ฉุกเฉินในฝ่ายงานของตนเอง ให้สามารถบริหารความต่อเนื่องและกลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ของทีมงานบริหารความต่อเนื่อง (BCP Team) และในกรณีที่บุคลากรหลักไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้บุคลากรสำรองรับผิดชอบทำหน้าที่ในบทบาทของบุคลากรหลัก ปรากฏดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 รายชื่อบุคลากรและบทบาทของทีมงานบริหารความต่อเนื่อง (BCP Team)
บุคลากรหลัก |
บทบาท |
บุคลากรสำรอง |
ชื่อ |
เบอร์โทรศัพท์ |
ชื่อ |
เบอร์โทรศัพท์ |
นายวินัย มูสิกะเจริญ
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ |
081-3280890 |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่อง |
นายชวเอิบ อินทรภักดิ์
หัวหน้ากลุ่มงานธุรการ
น.ส.สมใจ คำเขียว
น.ส.สาวิตรี ทิพย์นุ้ย |
084-1944067
084-8533544
089-4642047 |
นายวิชัด พิมสาย
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ |
082-8149246 |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่อง |
นายชำนาญศิลป์ สังข์ทอง
นางสาวรัตนา จันจีน
นางอุไรวรรณ ธรรมจักร
นางจันทรา เนียมบุญ |
086-6983560
085-6296598
089-9763778
081-9636056 |
นายวรายุทธ เมืองสง
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ |
087-9681677 |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่อง |
นายจิรเมธ จันทร์หอม
หัวหน้ากลุ่มงานธุรการ
นายวิชัย หนูศรี
นายณัฐสิทธิ์ ขุนราม
น.ส.วิมลวรรณ ธรรมภิบาลอุดม
|
086-2968572
080-8791996
086-7468196
089-5971139 |
นายเศรษฐา ชูดำ
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ |
087-2958949 |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่อง |
นายชุมนุม ช่วยคุณูปการ
หัวหน้ากลุ่มงานธุรการ
นายอภิชาต เต็มยอด
นายฐานัส ขวัญกลับ |
089-2956896
080-7050678
081-7679249 |
นายประชา นุ่มจันทร์
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ |
084-8467413 |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่อง |
นายไพบูลย์ เมืองสง
หัวหน้ากลุ่มงานธุรการ
นางสุดใจ พันธรัตน์
นางสุมาลี ชูแสง |
083-6567581
081-0956022
084-9998308 |
นางสุชล จันทมณี
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ |
088-6214920 |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่อง |
นางบังอร คชสิงห์
นางอำไพ ช่วยชู |
084-8521055
087-8364716 |
กลยุทธ์ความต่อเนื่อง (Business Continuity Strategy)
กลยุทธ์ความต่อเนื่อง เป็นแนวทางในการจัดหาและบริหารจัดการทรัพยากรให้มีความพร้อมเมื่อเกิดสภาวะวิกฤต ซึ่งพิจารณาทรัพยากรใน 5 ด้าน ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 กลยุทธ์ความต่อเนื่อง (Business Continuity Strategy)
ทรัพยากร |
กลยุทธ์ความต่อเนื่อง |
|
อาคาร/ สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง |
§ กำหนดให้ใช้พื้นที่ปฏิบัติงานสำรองภายในศาลากลาง. โดยมีการสำรวจความเหมาะสมของสถานที่ ประสานงาน และการเตรียมความพร้อม กับหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
§ กำหนดให้ใช้พื้นที่ปฏิบัติงาน ในกรณีที่ความเสียหายขยายปีกวงกว้าง กำหนดให้ใช้พื้นที่ใกล้เคียง อำเภอ ท้องถิ่นใกล้เคียง โดยมีการมีการสำรวจความเหมาะสมของสถานที่ ประสานงานและการเตียรมความพร้อมล่วงหน้า |
|
วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ / การจัดหาจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ |
§ กำหนดให้มีการจัดหาคอมพิวเตอร์สำรอง ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการใช้งาน พร้อมอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมโยงต่อผ่านอินเตอร์เน็ตเข้าสู่ระบบเทคโนโลยีของหน่วยงานกลางและกรมบัญชีกลางได้
§ กำหนดให้ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop/ Notebook) ของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานได้เป็นการชั่วคราว หากมีความจำเป็นเร่งด่วนในช่วงระหว่างการจัดหาคอมพิวเตอร์สำรอง ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องในการกอบกู้คืนก่อน |
|
เทคโนโลยี
สารสนเทศและ
ข้อมูลที่สำคัญ |
§ ระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญของหน่วยงาน มีลักษณะแบบรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง (อบต.ควนขนุน) และเชื่อมโยงระบบเครือข่ายต่อผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อการใช้งาน ทำให้หน่วยงานจังหวัดไม่มีระบบคอมพิวเตอร์สำรอง ดังนั้น หากเกิดภาวะฉุกเฉินต้องรอจนกว่าระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานกลางจะกอบกู้ให้สามารถใช้งานได้ |
|
บุคลากรหลัก |
§ กำหนดให้ใช้บุคลากรสำรอง ทดแทนภายในฝ่ายงานหรือกลุ่มงานเดียวกัน
§ กำหนดให้ใช้บุคลากรนอกฝ่ายงานหรือกลุ่มงานในกรณี ที่บุคลากรไม่เพียงพอหรือขาดแคลน |
|
คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
§ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของจังหวัดพัทลุงกำหนดให้มีผู้ให้บริการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2 ราย คือ ทีโอที และ CAT ซึ่งหากผู้ให้บริการหลักไม่สามารถให้บริหารได้ ระบบเชื่อมโยงจะปรับเปลี่ยนไปยังผู้ให้บริการสำรอง ภายใน 24. ชั่วโมง
§ กำหนดให้จัดหาอุปกรณ์เชื่อมโยงระบบเครือข่ายต่อผ่านอินเตอร์เน็ต แบบพกพา (Air Card) ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เชื่อมโยงการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญของหน่วยงานกลางผ่านอินเตอร์เน็ต ในกรณี ที่ผู้ให้บริการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของจังหวัด ทั้ง 2 ราย ไม่สามารถให้บริการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด |
ความต้องการด้านทรัพยากรที่จำเป็นในการบริหารความต่อเนื่อง
การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis) พบว่ากระบวนการทำงานที่ฝ่ายงานต้องให้ความสำคัญและกลับมาดำเนินงานหรือฟื้นคืนสภาพให้ได้ภายในระยะเวลาตามที่กำหนดปรากฎดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis)
|
กระบวนการหลัก |
ระดับความเร่งด่วน |
ระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพ |
|
4 ชั่วโมง |
1 วัน |
1 สัปดาห์ |
2 สัปดาห์ |
1 เดือน |
|
ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไป |
สูง |
|
ü |
ü |
ü |
ü |
|
ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงิน การบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารบุคคล งานติดต่อประสานงาน งานสถิติข้อมูล |
ปานกลาง |
|
|
ü
(2-3 วัน) |
ü |
ü |
|
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน งบประมาณ และเร่งรัดติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของจังหวัด |
ต่ำ |
|
|
|
|
ü
(เร่งด่วนช่วงเดือน (ก.ค.) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สำหรับกระบวนงานอื่น ๆ ที่ประเมินแล้ว อาจไม่ได้รับผลกระทบในระดับสูงถึงสูงมาก หรือมีความยืดหยุ่นสามารถชะลอการดำเนินงานและการให้บริการได้ โดยให้ผู้บริหารของฝ่ายงานประเมินความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็น ให้ปฏิบัติตามแนวทางการบริหารความต่อเนื่องเช่นเดียวกับกระบวนงานหลัก
การวิเคราะห์เพื่อกำหนดความต้องการทรัพยากรที่สำคัญ
1) ด้านสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง (Working Space Requirement) ดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4 การระบุพื้นที่การปฏิบัติงานสำรอง
ประเภททรัพยากร |
ที่มา |
4 ชั่วโมง |
1 วัน |
1 สัปดาห์ |
2 สัปดาห์ |
1 เดือน |
พื้นที่สำหรับสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง |
ศาลากลาง |
2 ตร.ม.
(1 คน) |
4 ตร.ม.
(2คน) |
6 ตร.ม.
(3 คน) |
10 ตร.ม.
(5 คน) |
- |
ปฏิบัติงานงานที่บ้าน |
- |
8 ตร.ม.
(4 คน) |
6 ตร.ม.
(3 คน) |
4 ตร.ม.
(2 คน) |
- |
|
พื้นที่สำหรับสถานที่ปฏิบัติงานใหม่ในกรณีจำเป็น |
ตามที่
กำหนดไว้ในแผนบริหารความ
ต่อเนื่อง |
- |
- |
- |
- |
10 ตร.ม.
( 5 คน) |
รวม |
10 ตร.ม.
( 5 คน) |
10 ตร.ม.
( 5 คน) |
10 ตร.ม.
( 5 คน) |
10 ตร.ม.
( 5 คน) |
10 ตร.ม.
( 5 คน) |
2) ความต้องการด้านวัสดุอุปกรณ์ (Equipment & Supplies Requirement) ดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 การระบุจำนวนวัสดุอุปกรณ์
ประเภททรัพยากร |
ที่มา |
4 ชั่วโมง |
1 วัน |
1 สัปดาห์ |
2 สัปดาห์ |
1 เดือน |
คอมพิวเตอร์สำรองที่มีคุณลักษณะเหมาะสม |
ร้านค้า
ผ่านกระบวนการจัดซื้อพิเศษ |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
2 เครื่อง |
2 เครื่อง |
GFMIS Token Key
|
เจ้าหน้าที่ฝ่ายฯ ที่เก็บรักษา |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
EGP (ระบบจัดซื้อจัดจ้าง) Token Key |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายฯ ที่เก็บรักษา |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
เครื่องพิมพ์ รองรับการใช้งานกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ |
ร้านค้า
ผ่านกระบวนการจัดซื้อพิเศษ
|
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
โทรศัพท์พร้อมหมายเลข |
ร้านค้า
ผ่านกระบวนการจัดซื้อพิเศษ |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
โทรสาร/ เครื่องสแกนด์ (Fax/Document Scan Machine) พร้อมหมายเลข |
ร้านค้า
ผ่านกระบวนการจัดซื้อพิเศษ |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
เครื่องถ่ายเอกสาร |
ร้านค้า
ผ่านกระบวนการจัดซื้อพิเศษ |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
1 เครื่อง |
3) ความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูล (IT & Information Requirement)
เนื่องจากระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญของหน่วยงานอยู่ในความดูแลของหน่วยงานกลาง เป็นลักษณะแบบรวมศูนย์ ดังนั้น หน่วยงานจึงใช้ข้อมูลสารสนเทศโดยการเชื่อมโยงระบบของหน่วยงานกับหน่วยงานกลางผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต ทำให้หน่วยงานไม่มีระบบคอมพิวเตอร์สำรองและหากระบบมีปัญหาต้องรอให้หน่วยงานกลางกู้คืนระบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศก่อนหน่วยงานจึงจะสามารถใช้งานของระบบได้
ตารางที่ 6 การระบุความต้องการด้านเทคโนโลยี
ประเภททรัพยากร |
แหล่งข้อมูล |
4 ชั่วโมง |
1 วัน |
1 สัปดาห์ |
2 สัปดาห์ |
1 เดือน |
Email |
หน่วยงานระบบ IT จังหวัด |
|
ü |
ü |
ü |
ü |
GFMIS (ระบบเบิกจ่ายเงิน) |
หน่วยงานระบบ IT จังหวัด |
|
|
ü
(2-3 วัน) |
ü |
ü |
EGP (ระบบจัดซื้อจัดจ้าง) |
หน่วยงานระบบ IT จังหวัด |
|
|
ü
(2-3 วัน) |
ü |
ü |
หนังสือสั่งการต่าง ๆ
ออกโดยหน่วยงาน |
หน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับ
|
|
ü |
ü |
ü |
ü |
หนังสือสั่งการต่าง ๆ |
หน่วยงานต้นสังกัด |
|
ü |
ü |
ü |
ü |
เอกสารใบแจ้งหนี้
|
คู่ค้า |
|
|
ü
(2-3 วัน) |
ü |
ü |
ข้อมูลประกอบการจัดทำแผนงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ |
หน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดและหน่วยงานกลาง |
|
|
|
|
ü
(เร่งด่วนช่วงเดือน ก.ค.) |
4) ความต้องการด้านบุคลากรสำหรับความต่อเนื่องเพื่อปฏิบัติงาน (Personnel Requirement) ปรากฏดังตารางที่ 7
ตารางที่ 7 การระบุจำนวนบุคลากรหลักที่จำเป็น
ประเภททรัพยากร |
4 ชั่วโมง |
1 วัน |
1 สัปดาห์ |
2 สัปดาห์ |
1 เดือน |
จำนวนบุคลากรปฏิบัติงานที่
สำนักงาน/ สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง |
1 |
2 |
3 |
5 |
5 |
จำนวนบุคลากรปฏิบัติงานที่บ้าน |
4 |
3 |
2 |
- |
- |
รวม |
5 |
5 |
5 |
5 |
5 |
5) ความต้องการด้านผู้ให้บริการที่สำคัญ (Service Requirement)
ตารางที่ 8 การระบุจำนวนผู้ให้บริการที่ต้องติดต่อหรือขอรับบริการ
ฝ่ายงาน/ กลุ่มงาน |
4 ชั่วโมง |
1 วัน |
1 สัปดาห์ |
2 สัปดาห์ |
1 เดือน |
ผู้ให้บริการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต* |
1 |
1 |
1 |
1 |
1 |
รวม |
1 |
1 |
1 |
1 |
1 |
หมายเหตุ - ให้จัดหาอุปกรณ์เชื่อมโยงระบบเครือข่ายต่อผ่านอินเตอร์เน็ต แบบพกพา (Air Card) ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เชื่อมโยงการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญของหน่วยงานกลางผ่านอินเตอร์เน็ต ในกรณีผู้ให้บริการหลักและสำรองไม่สามารถให้บริการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
วันที่ 1 ( ภายใน24 ชั่วโมง) การตอบสนองต่อเหตุการณ์ทันที |
ในการปฏิบัติการใดๆ ให้บุคลากรของฝ่ายฯ คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและบุคลากรอื่นๆ
และปฏิบัติตามแนวทางและแผนเผชิญเหตุและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่หน่วยงานตนเองและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด |
ขั้นตอนและกิจกรรม |
บทบาทความรับผิดชอบ |
ดำเนินการ
แล้วเสร็จ |
- แจ้งเหตุฉุกเฉิน วิกฤติ ตามกระบวนการ Call Tree ให้กับบุคลากรในฝ่ายฯ ภายหลังได้รับแจ้งจากหัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงาน |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- จัดประชุมทีมงานบริหารความต่อเนื่อง เพื่อประเมินความเสียหาย ผลกระทบต่อการดำเนินงาน การให้บริการ และทรัพยากรสำคัญที่ต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง
- ทบทวนกระบวนงานที่มีความเร่งด่วน หรือส่งผลกระทบอย่างสูง (หากไม่ดำเนินการ) ดังนั้น จำเป็นต้องดำเนินงานหรือปฏิบัติด้วยมือ (Manual Processing) |
ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- ระบุและสรุปรายชื่อบุคลากรในฝ่ายฯ ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต |
หัวหน้าฝ่าย |
o |
- รายงานหัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงานทราบ โดยครอบคลุมประเด็นดังนี้
จำนวนและรายชื่อบุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บ/ เสียชีวิต
ความเสียหายและผลกระทบต่อการดำเนินงานและการให้บริการ
ทรัพยากรสำคัญที่ต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง
กระบวนงานที่มีความเร่งด่วนและส่งผลกระทบอย่างสูงหากไม่ดำเนินการ และจำเป็นต้องดำเนินงานหรือปฏิบัติงานด้วยมือ |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- สื่อสารและรายงานสถานการณ์แก่บุคลากรในฝ่ายฯ ให้ทราบ ตามเนื้อหาและข้อความที่ได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงานแล้ว |
หัวหน้า ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- ประเมินและระบุกระบวนการหลัก และงานเร่งด่วน ที่จำเป็นต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 1- 5 วันข้างหน้า |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- ประเมินศักยภาพและความสามารถของหน่วยงานฯ ในการดำเนินงานเร่งด่วนข้างต้น ภายใต้ข้อจำกัดและสภาวะวิกฤต พร้อมระบุทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่องตามแผนการจัดหาทรัพยากร |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- รายงานความคืบหน้าให้แก่หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงานทราบ พร้อมขออนุมัติการดำเนินงานหรือปฏิบัติงานด้วยมือ (Manual Processing) สำหรับกระบวนงานที่มีความเร่งด่วนและส่งผลกระทบอย่างสูงหากไม่ดำเนินการ |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
|
- ติดต่อและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง ได้แก่
§ สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง
§ วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ
§ เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ
§ บุคลากรหลัก
§ คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป/ หน่วยงาน
§ หน่วยงาน
§ หน่วยงาน/ฝ่ายบริหารทั่วไป
§ |
o
o
o
o
o |
- พิจารณาดำเนินการหรือปฏิบัติงานด้วยมือ (Manual) เฉพาะงานเร่งด่วน หากไม่ดำเนินการจะส่งผลกระทบอย่างสูงและไม่สามารถรอได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับการอนุมัติ |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o
|
- ระบุหน่วยงานที่เป็นคู่ค้า/ผู้ให้บริการสำหรับงานเร่งด่วน เพื่อแจ้งสถานการณ์และแนวทางในการบริหารงานให้มีความต่อเนื่องตามความเห็นของคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงาน |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o
|
- บันทึก (Log Book) และทบทวนกิจกรรมและงานต่างๆ ที่ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ ต้องดำเนินการ (พร้อมระบุรายละเอียด ผู้ดำเนินการ และเวลา) อย่างสม่ำเสมอ |
ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- แจ้งสรุปสถานการณ์และขั้นตอนการดำเนินการ สำหรับในวันถัดไป ให้กับบุคลากรหลักในฝ่ายฯ เพื่อรับทราบและดำเนินการ อาทิ แจ้งวัน เวลา และสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง |
หัวหน้า ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- รายงานความคืบหน้าให้แก่หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอหรือตามที่ได้กำหนดไว้ |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
วันที่ 2-7 การตอบสนองในระยะสั้น |
ในการปฏิบัติการใดๆ ให้บุคลากรของฝ่ายฯ คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและบุคลากรอื่นๆ
และปฏิบัติตามแนวทางและแผนเผชิญเหตุและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่หน่วยงานตนเองและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด |
ขั้นตอนและกิจกรรม |
บทบาทความรับผิดชอบ |
ดำเนินการ
แล้วเสร็จ |
- ติดตามสถานะภาพการกอบกู้คืนมาของทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบ ประเมินความจำเป็นและระยะเวลาที่ต้องใช้ในการกอบกู้คืน |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o
|
- ตรวจสอบกับหน่วยงาน ความพร้อมและข้อจำกัดในการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง ได้แก่
§ สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง
§ วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ
§ เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ
§ บุคลากรหลัก
§ คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป/หน่วยงาน
§ หน่วยงาน
§ หน่วยงาน |
o
o
o
o
o
o |
- รายงานหัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงาน ความพร้อม ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะ ในการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- ประสานงานและดำเนินการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง ได้แก่
§ สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง
§ วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ
§ เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ
§ บุคลากรหลัก
§ คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป/หน่วยงาน
§ หน่วยงาน
§ หน่วยงาน |
o |
- ดำเนินการกอบกู้และจัดหาข้อมูลและรายงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงานและให้บริการตามตารางที่ 6 |
ฝ่ายบริหารทั่วไป
|
o |
- ดำเนินงานและให้บริการ ภายใต้ทรัพยากรที่จัดหา เพื่อบริหารความต่อเนื่อง:
§ สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง
§ วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ
§ เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ
§ บุคลากรหลัก
§ คู่ค้า / ผู้ให้บริการที่สำคัญ |
|
o |
- แจ้งสถานการณ์และแนวทางในการบริหารความต่อเนื่องแก่ประชาชน /ผู้ใช้บริการ/คู่ค้า/ที่ได้รับผลกระทบ |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o
|
- บันทึก (Log Book) และทบทวนกิจกรรมและงานต่างๆ ที่ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ (พร้อมระบุรายละเอียด ผู้ดำเนินการ และเวลา) อย่างสม่ำเสมอ |
ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- แจ้งสรุปสถานการณ์และขั้นตอนการดำเนินการต่อไป สำหรับในวันถัดไป ให้กับบุคลากรในฝ่ายฯ |
หัวหน้า ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- รายงานความคืบหน้าให้แก่หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงาน ตามเวลาที่ได้กำหนดไว้ |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
วันที่ 8 การตอบสนองระยะกลาง (1 สัปดาห์) |
ในการปฏิบัติการใดๆ ให้บุคลากรของฝ่ายฯ คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและบุคลากรอื่นๆ
และปฏิบัติตามแนวทางและแผนเผชิญเหตุและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่หน่วยงานตนเองและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด |
ขั้นตอนและกิจกรรม |
บทบาทความรับผิดชอบ |
ดำเนินการ
แล้วเสร็จ |
- ติดตามสถานะภาพการกอบกู้คืนมาของทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบ และประเมินความจำเป็นและระยะเวลาที่ต้องใช้ในการกอบกู้คืน |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o
|
- ระบุทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อดำเนินงานและให้บริการตามปกติ |
|
|
- รายงานหัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงานสถานภาพการกอบกู้คืนมาของทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบ และทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้เพื่อดำเนินงานและให้บริการตามปกติ |
หัวหน้าทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- ประสานงานและดำเนินการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้เพื่อดำเนินงานและให้บริการตามปกติ:
§ สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง
§ วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ
§ เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ
§ บุคลากรหลัก
§ คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย / ผู้ให้บริการที่สำคัญ |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป
§ ฝ่ายบริหารทั่วไป/ หน่วยงาน
§ หน่วยงาน
§ หน่วยงาน/ฝ่ายบริหารทั่วไป |
o |
- แจ้งสรุปสถานการณ์และการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรต่างๆ เพื่อดำเนินงานและให้บริการตามปกติ ให้กับบุคลากรในฝ่ายฯ |
หัวหน้า ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- บันทึก (Log Book) และทบทวนกิจกรรมและงานต่างๆ ที่ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ (พร้อมระบุรายละเอียด ผู้ดำเนินการ และเวลา) อย่างสม่ำเสมอ |
ทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
- รายงานความคืบหน้าให้แก่หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงาน ตามเวลาที่ได้กำหนดไว้ |
หัวหน้าและทีมงานบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายฯ |
o |
สารบัญ
เรื่อง หน้า
แผนบริหารความต่อเนื่องขององค์การบริหารส่วนตำบลควนขนุน 1
วัตถุประสงค์ 1
ขอบเขตของแผนความต่อเนื่อง 2
การวิเคราะห์ทรัพยากรที่สำคัญ 2
ทีมงานแผนความต่อเนื่อง 3
กลยุทธ์ความต่อเนื่อง 5
ความต้องการด้านทรัพยากรที่จำเป็นในการบริหารความต่อเนื่อง 6
ขั้นตอนการบริหารความต่อเนื่องและกอบกู้กระบวนการ 10
คำนำ
จากการที่ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์อุทกภัยรุนแรง ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน-เดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้พบว่าระบบและกลไกของรัฐหลายประการมีปัญหาโดยไม่สามารถดำเนินภารกิจในสภาวะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นไปโดยขาดระบบการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นบทเรียนอันสำคัญที่ทุกส่วนราชการต้องนำมาปรับกระบวนการทำงานใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริการประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าภารกิจหลักของราชการหรืองานบริการประชาชนที่สำคัญ สามารถดำเนินงานหรือให้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุดหยุดลงแม้ว่าจะประสบกับวิกฤตการณ์หรือภัยพิบัติต่าง ๆ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 50 บัญญัติว่า เพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ก.พ.ร. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาจกำหนดให้ส่วนราชการต้องปฏิบัติการใด นอกเหนือจากที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้ รวมทั้งกำหนดมาตรการอื่นเพิ่มเติมจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48 และมาตรา 49 ก็ได้ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 52 และมาตรา 53 อาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ก.พ.ร. จึงได้เสนอแนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตและมาตราการที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2555 และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้ทุกส่วนราชการทั้งระดับกรม จังหวัด สถาบันอุดมศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการเพื่อสร้างความพร้อมให้แก่หน่วยงานเมื่ออยู่ในสภาวะวิกฤต
|